สุดยอดคำสั่งพื้นฐานสำหรับวิเคราะห์ Network
ในการใช้อินเตอร์เน็ต หลายครั้งที่เราเคยประสบกับข้อความแสดงข้อผิดพลาด “ No Internet” ในบางครั้งก็ตัดสินในเล่นเกมไดโนเสาร์ในระหว่างรอ
ในบทความนี้จะแนะนำคำสั่งพื้นฐานที่ผู้ดูแลระบบใช้ในการช่วยวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่าย ซึ่งการใช้คำสั่งจะใช้บน Command Prompt
1. ipconfig
คำสั่งนี้ใช้สำหรับตรวจดู IP Address ของเน็ตเวิร์กการ์ด (Network Card) และค่าการใช้งานอื่นๆ เช่น
DHCP Server (ถ้าเป็นเครือข่าย LAN ทั่วไป ส่วนนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้ )
IP Address IPv4 / IPv6
Subnet Mask
Default Gareway
IP Address IPv4 / IPv6
Subnet Mask
Default Gareway
นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกอื่นๆ ที่ใช้ร่วมกับคำสั่ง ipconfig ได้แก่
ipconfig /all : แสดงรายละเอียดทั้งหมด
ipconfig /release : ยกเลิกไอพีแอดเดรสที่ใช้ปัจจุบัน
ipconfig /renew : ขอหมายเลขไอพีแอดเดรสใหม่ จาก DHCP Server
ipconfig /registerdns : ลงทะเบียนชื่อโดเมนกับไอพีแอดเดรสบน DNS Server
ipconfig /displaydns : แสดงข้อมูล DNS ที่อยู่ในหน่วยความจำแคช DNS
ipconfig /release : ยกเลิกไอพีแอดเดรสที่ใช้ปัจจุบัน
ipconfig /renew : ขอหมายเลขไอพีแอดเดรสใหม่ จาก DHCP Server
ipconfig /registerdns : ลงทะเบียนชื่อโดเมนกับไอพีแอดเดรสบน DNS Server
ipconfig /displaydns : แสดงข้อมูล DNS ที่อยู่ในหน่วยความจำแคช DNS
2.ping
คำสั่ง ping เป็นการตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ต้นทางและปลายทาง โดยจะส่งข้อมูล ICMP ประเภท “echo request” ไปยังเป้าหมาย แล้วรายงานว่าเป้าหมายตอบกลับมาหรือไม่ ถ้าติดต่อได้จะส่งข้อมูลกลับมาเป็นชุดๆ ดังภาพตัวอย่าง
แต่ในบางครั้งสาเหตุที่ติดต่อกับเครื่องปลายทางไม่ได้ อาจจะเป็นเพราะ เครื่องปลายทางไม่ได้เปิด หรือถูกขัดขวางจากไฟร์วอลล์
นอกจากนี้ยังสามารถใช้คำสั่ง ping กับแอดเดรสอื่น
ping www.avesta.co.th ทดสอบด้วยโดเมนเนม
ping 127.0.0.1 ทดสอบกับไอพีแอดเดรสลูปแบ็ก เพื่อตรวจสอบระบบตัวเอง
ping -t 10.50.10.1 ส่งแพ็กเก็ตไปแบบต่อเนื่อง (ยกเลิกโดยกดปุ่ม Ctrl+C)
ping 127.0.0.1 ทดสอบกับไอพีแอดเดรสลูปแบ็ก เพื่อตรวจสอบระบบตัวเอง
ping -t 10.50.10.1 ส่งแพ็กเก็ตไปแบบต่อเนื่อง (ยกเลิกโดยกดปุ่ม Ctrl+C)
3.netstat
เป็นคำสั่งตรวจสอบสถานะของเครือข่าย สถานะโปรโตคอล รวมทั้งหมายเลขพอร์ตที่เปิดใช้งาน
netstat -a แสดงสถานะการเชื่อมต่อทั้งหมด
netstat -n ตรวจสถานะการเชื่อมต่อพร้อมแสดงหมายเลขพอร์ตทั้งต้นทางและปลายทาง
netstat -p กำหนดโปรโตคอลที่ต้องการตรวจสอบ
netstst -r แสดงข้อมูลในตารางเราติ้ง
netstat -n ตรวจสถานะการเชื่อมต่อพร้อมแสดงหมายเลขพอร์ตทั้งต้นทางและปลายทาง
netstat -p กำหนดโปรโตคอลที่ต้องการตรวจสอบ
netstst -r แสดงข้อมูลในตารางเราติ้ง
4.tracert
สำหรับตรวจสอบเส้นทางการเชื่อมต่อจากต้นทางไปยังปลายทางว่าผ่านจุดใดบ้าง โดยระบุโดเมนเนมหรือไอพีแอดเดรสของปลายทางหลังคำสั่ง เช่น tracert www.google.com
ในตัวอย่างนี้แสดงผลลัพธ์ให้เห็นว่าผ่านเกตเวย์ที่ใช้ไอพีแอดเดรสหมายเลข 10.50.10.1 แล้วผ่านเราเตอร์ต่างๆ จนถึง Host ปลายทาง หากมีเส้นทางที่ไม่สามารถตรวจสอบได้จะแสดงเครื่องหมายดอกจัน (*)
tracert -d บังคับไม่ให้ถามชื่อโฮสต์
5.route
เป็นคำสั่งจัดการข้อมูลในตารางเราติ้ง
route add เพิ่มเส้นทางข้อมูล
route change เปลี่ยนเส้นทางข้อมูล
route delete ลบเส้นทางข้อมูล
route print แสดงข้อมูลในตารางเราติ้ง
route change เปลี่ยนเส้นทางข้อมูล
route delete ลบเส้นทางข้อมูล
route print แสดงข้อมูลในตารางเราติ้ง
6.apr
เป็นคำสั่งเกี่ยวกับการใช้โปรโตคอล ARP โดยจะจับคู่ระหว่าง IP Address กับ Mac Addresss ของโฮสต์ต่างๆในเครือข่าย ซึ่งจะใช้ร่วมกับตัวเลือกอื่นๆ ได้แก่
arp -a แสดงข้อมูลในตาราง ARP Cache
arp -s เพิ่มข้อมูลในตาราง ARP Cache
arp -d ลบข้อมูลการจับคู่โฮสต์ที่ต้องการ
arp -s เพิ่มข้อมูลในตาราง ARP Cache
arp -d ลบข้อมูลการจับคู่โฮสต์ที่ต้องการ
7.nslookup
ใช้สอบถามข้อมูล DNS Server ของเครื่องเป้าหมาย ในตัวอย่างนี้ได้ส่งการสืบค้น nslookup ไปยัง DNS “ amazon.com”
ที่มา : www.th-proit.com
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น