การแก้ไขปัญหาทางธุรกิจด้วยระบบ
จากแนวทางข้างต้น
ทำให้รู้ว่า นักวิเคราะห์ระบบเป็นนักแก้ปัญหาทางธุรกิจ
ด้วยการพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหา
ก่อนจะเรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาของนักวิเคราะห์ระบบ ต้องเข้าใจสิ่งพื้นฐานเหล่านี้ก่อน
ความหมายของระบบ
ระบบ (System)
คือกลุ่มขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน
แต่ละองค์ประกอบจะประสานและทำงานร่วมกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน ระบบที่ดีจำเป็นต้องมีองค์ประกอบของระบบที่เรียกว่า
ระบบย่อย (Subsystem) ที่สามารถประสานการทำงานร่วมกันภายในระบบได้เป็นอย่างดี
เพื่อนำไปสู่ภาพใหญ่ของระบบให้สามารถทำงานได้บรรลุตามเป้าหมาย เช่น ระบบงานทงคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยระบบย่อยอยู่
3 ส่วนหลัก
ๆ คือ ฮาร์แวร์ ซอฟต์แวร์ และบุคลากร ทั้ง 3 ส่วนนี้
จะต้องประสานการทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน หากมีส่วนใดขัดข้อง
ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบโดยรวม หากผลกระทบได้เพิ่มมากขึ้น
อาจนำไปสู่ความล้มเหลวของระบบได้
การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระบบและระบบย่อย
-
ระบบ อาจมีมากกว่าหนึ่งเป้าหมายได้
-
ระบบ อาจมีระบบย่อยต่าง ๆ ได้
-
ระบบย่อย ถือเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบใหญ่
-
ระบบย่อยจะมีเป้าหมายรอง
ที่นำมาใช้สนับสนุนเป้าหมายหลัก
-
ระบบย่อย
สามารถรับข้อมูลและถ่ายโอนผลลัพธ์ไปสู่ระบบย่อยอื่น ๆ ได้
ภาพรวมของระบบ
จะถูกกำหนดด้วยขอบเขต (Boundary) โดยขอบเขตเหล่านี้จะประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ
ของระบบ ที่เรียกว่า ระบบย่อย และระบบย่อยเหล่านี้ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบ
ที่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ในระหว่างขั้นตอนการออกแบบ โดยสิ่งต่าง ๆ
ที่อยู่ภายนอกขอบเขตระบบ จะเรียกว่า สภาพแวดล้อม (Environment) ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลและอาจส่งผลกระทบต่อระบบได้
ระบบที่ดีควรมีระบบย่อยต่าง
ๆ ทีมีความสมบูรณ์ในตัว ระบบย่อยเหล่านี้มีความสำคัญมาก
เนื่องจากเป็นส่วนจัดการการดำเนินงานต่าง ๆ ภายในระบบที่มีความซับซ้อน
ให้สามารถผ่านไปได้ และแต่ละระบบย่อยจะมีการสื่อสารร่วมกัน รวมถึงส่งผลกลับ (Feedback) ระหว่างกัน
และยังมีระบบเฝ้าสังเกตการณ์ (Monitoring) เพื่อควบคุมให้ระบบดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
ที่สำคัญ ระบบที่ดีจะต้องได้รับการออกแบบระบบย่อยต่าง ๆ
ให้มีความเป็นอิสระต่อกันมากที่สุด ด้วยการลดเส้นทางการไหลของข้อมูล (Flows) ระหว่างกันเท่าที่จะเป็นไปได้
จะทำให้ระบบมีความขึ้นต่อกันต่ำและยังช่วยลดความซับซ้อนของระบบลงได้มาก ทำให้ง่ายต่อการบำรุงรักษา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น