LMS คืออะไร
LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม – ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบ LMS : LMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้
1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม รูปแบบ
2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text – based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media
3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบ อัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน
4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน – ผู้สอน และ ผู้เรียน – ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้
5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อตามที่ Admin กำหนดให้
eFront
eFront (อีฟร้อนท์) เป็นระบบสร้างศูนย์เรียนรู้ในหน่วยงานยุคใหม่ โดยที่ eFront เป็นระบบที่มีความสามารถสูงพัฒนาด้วยแนวคิดโดยใช้เทคโนโลยี Web 2.0
ความสามารถเด่นของ eFront
– Easy to us < มีความง่ายในการใช้งาน
– Visually attractive < ส่วนติดต่อผู้ใช้มีความสวยงาม น่าใช้งาน
– Technologically advanced < ใช้แนวการพัฒนาเชิงวัตถุ (Object-oriented) ผนวกกับ AJAX รองรับ Unicode, LDAP และมาตรฐาน SCORM
– Pedagogical concepts < สามารถออกแบบหลักสูตรก่อแนการเรียนจริง – Open Source < เป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สสามารถดาวน์โหลดไปติดตั้งได้ฟรี
– Complete < ตัวระบบมีความครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็น การสร้างบทเรียน (lesson structure and add content), แบบทดสอบ (online-tests), การมอบหมายงาน (assign projects) , การทำโพล (surveys), กระดานข่าว (communicate), การติดตามผู้เรียน (track users), การสร้างใบประกาศ (create certifications)
การติดตั้งefront
1. เข้าไปดาวน์โหลด efront ที่ http://www.efrontlearning.net/download แล้วคลิกเลือกที่ Open Source และ Download ตามลำดับ เมื่อทำการดาวน์โหลดเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ทำการ Extractไฟล์
2. นำไฟล์และโฟลเดอร์ทั้งหมดขึ้น Server (ถ้าใช้การจำลองเครื่องโดยใช้ Appserv ให้นำไฟล์และโฟลเดอร์ทั้งหมดไปไว้ที่ www) และตั้งชื่อโฟลเดอร์ว่า efront
3.สร้างฐานข้อมูลใน mysql เช่น efront
4.ดำเนินการติดตั้งโดยพิมพ์ชื่อเว็บไซท์ ตัวอย่าง www.yourhost.com/install.php หรือ http://localhost/ชื่อโฟลเดอร์ จะได้ดังนี้ เมื่อปรากฏหน้าต่างดังกล่าวแล้วให้คลิกที่ New Installation
5. เมื่อคลิกที่ New Installation แล้วจะเข้าสู่หน้าต่าง Efront Installation Wizard (ถ้ามีการแจ้งเตือนข้อผิดพลาดให้ดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นๆ) แล้วคลิกที่ปุ่ม Continue >>
6. ทำการกรอกข้อมูลลงไปดังภาพด้านล่าง หลังจากนั้นคลิกปุ่ม Install
7. เมื่อคลิก Install ให้รอระบบทำการติดตั้ง เมื่อระบบติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วจะปรากฏหน้าต่างดังภาพด้านล่าง ให้คลิกที่ here เพื่อไปยังหน้าเว็บไซต์
อธิบายเมนูการใช้งาน
1. สมาชิก:ผู้ใช้ >> เมนูนี้ใช้สำหรับแก้ไขชื่อ รหัสผ่านของผู้ใช้ และเพิ่ม ลบผู้ใช้
2. บทเรียน >> ใช้สำหรับสร้างบทเรียน โดยก่อนที่จะสร้างบทเรียนควรจะสร้าง หมวดวิชา และหลักสูตร:วิชา ก่อน ตามลำดับ
2.1 วิธีการสร้างบทเรียน
2.1.1 คลิกที่ สร้างบทเรียนใหม่
2.1.2 กรอกข้อมูลลงไปดังภาพด้านล่าง (ควรจะสร้าง หมวดวิชา และหลักสูตร:วิชา ก่อน) เมื่อกรอกเสร็จเรียบร้อยแล้วคลิกที่ปุ่ม ส่ง:บันทึกการเปลี่ยนแปลง
2.1.3 จะได้บทเรียนดังภาพ โดยในภาพจะแจ้งสถานะว่าเราสร้างบทเรียนเรียบร้อยแล้ว และด้านล่างจะมีรายวิชาต่างๆ ที่เราได้สร้างไว้
3. หลักสูตร:วิชา >> ใช้สร้างหลักสูตรเพื่อไว้สำหรับเก็บบทเรียน เพื่อความสะดวกในการค้นหา และความเป็นระเบียบเรียบร้อย
4. หมวดวิชา >> สร้างขึ้นมาเพื่อเก็บ หลักสูตร:วิชา และ บทเรียน ตามลำดับ
5. สิทธิ์บทบาทสมาชิก >> กำหนดสิทธิ์การใช้งานของผู้ใช้
6. กลุ่มสมาชิก:ผู้ใช้ >> จัดสมาชิกเป็นกลุ่ม เพื่อง่ายต่อการจัดการ
7. การตั้งค่าระบบ >> ประกอบด้วยเมนูย่อยอีกมากมาย ดังนี้
7.1 การตั้งค่าทั่วไป ประกอบด้วยการตั้งค่าระบบรักษาความปลอดภัย ตั้งค่าวันที่และเวลา และการตั้งค่าอีเมล์ติดต่อกลับ
7.2 การตั้งค่าสมาชิก:ผู้ใช้ ประกอบด้วยการตั้งค่าการเปิดใช้การลงทะเบียนของผู้ใช้ การอนุญาตให้เข้าใช้ระบบพร้อมกัน และตั้งค่าให้มีการตรวจสอบสิทธิ์ของผู้ใช้
7.3 การแสดงผล:ข้อมูลเว็บไซต์ ประกอบด้วยการตั้งค่า ส่วนท้ายเว็บ(Footer) ชื่อเว็บไซต์ คำอธิบายเว็บไซต์ และสัญลักษณ์(LOGO)
7.4 เครื่องมือภายนอก
7.5 การปิด-เปิดการใช้งานระบบ
8. ชุดแบบกราฟิก >> เป็นการจัดการรูปแบบของหน้าเว็บไซต์ (การจัดวางเมนูหรือจัดวางส่วนของเนื้อหา) และสามารถเลือกรูปแบบ(Theme) ของเว็บไซต์ได้จากส่วนนี้ด้วย
9. การแจ้งเตือน
10. รับ-ส่งข่าวสาร >> ส่งข้อความส่วนตัวไปให้สมาชิกที่ต้องการส่งให้
11. ผู้ที่เข้าใช้ระบบ >> แสดงรายชื่อผู้เข้าใช้งานทั้งหมด
12. ส่งออก/นำเข้าข้อมูล
13. ภาษาในระบบ >> เป็นการตั้งค่าภาษาให้กับเว็บไซต์
14. สถิติ:รายงาน >> จะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือสถิติที่เกี่ยวกับผู้ใช้ และสถิติที่เกี่ยวกับบทเรียน
15. สำรอง – กู้คืน >> เป็นการสำรองข้อมูลของเว็บไซต์ไว้ เผื่อเวลาที่ระบบมีปัญหาจะได้กู้คืน
16. การบำรุงรักษา >> จะแจ้งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับเว็บไซต์ เช่น PHP Version เป็นต้น
17. การอภิปราย
การสมัครสมาชิก
1. คลิกที่ “คลิกสมัครเป็นสมาชิกใหม่ ที่นี่”
2. กรอกรายละเอียดดังภาพ แล้วคลิกที่ปุ่ม “ส่ง:ลงทะเบียบสมาชิก”
การแจ้งลืมรหัสผ่าน
1. คลิกที่ “คลิกแจ้งลืมรหัสผ่าน ที่นี่”
2. กรอกชื่อที่ใช้เข้าระบบ หรือ อีเมล์
การติดต่อผู้บริหาร
1. คลิกที่ “ติดต่อผู้บริหารระบบ คลิกที่นี่”
2. กรอกชื่อ หรืออีเมล์เพื่อแสดงความมีตัวตน พร้อมกับกรอกหัวเรื่องและข้อความตามลำดับ หลังจากนั้นคลิกที่ปุ่ม “ส่ง:บันทึกการเปลี่ยนแปลง”
การ Login เข้าระบบ
กรอก User และ Password : ของสมาชิกเพื่อเข้าสู่ระบบ
การใช้ เมนู เครื่องมือสร้างและแก้ไข
เมนู เครื่องมือสร้างและแก้ไข จะเป็นเมนูที่ไว้สำหรับการจัดการข้อมูลส่วนตัว สถิติ หรือข้อมูลจำเพาะ ของสมาชิก เปลี่ยนแปลงแก้ไขต่างๆ หรือดูความเคลื่อนไหวของสมาชิก
ข้อมูลส่วนตัว >> จะเป็นการแก้ไขข้อมูลส่วนตัว ของสมาชิก
ปฏิทินกิจกรรม ในเมนูย่อยนี้ จะบอกถึง วันเวลาที่มีกิจกรรมกับทางเว็บไซต์
สถิติซ รายงาน เมนูนี้เป็นเมนูบอกรายงานต่างๆ ว่าเราเรียนอะไรไปแล้วบ้าง หรือยังเหลือวิชาไหนยังเรียนไม่จบ
การอภิปราย เมนูนี้เป้นเมนูเหมือนกับการตั้งกระทู้ถาม อาจารณ์ หรือ สมาชิกท่านอื่นๆ
อ้างอิง –
อดิศร ก้อนคำ. “LMS คืออะไร” . www.kroobannok.com/1585 , 2551
Rattakorn Kidkarn. “LMS คืออะไร” . computer-edu-training.blogspot.com , 2550
werphat . “ประเภทของ CMS” . http://jojo-weraphat.blogspot.com , 2553
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ . “การติดตั้งefront บนhost” . www.gotoknow.org , 2553
สรวง ศรีแก้วทุม . “การติดตั้ง eFront” . www.gotoknow.org , 2553
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น